ตู้โหลดเซ็นเตอร์
(Load Center) ส่วนใหญ่เป็นกล่องเหล็ก ลักษณะการทำงานคล้ายกับ
Consumer Unit แตกต่างกันที่มีหลายแถว และใช้กับพื้นที่มากกว่า
1 พื้นที่ขึ้นไป เหมาะสำหรับควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางและใหญ่
หรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไฟ 3 เฟส 4 สาย แบ่งออกเป็น
2 ชนิด คือ
จะ มี lug ต่อสายซึ่งใช้ต่อกับสายเมนทั้ง
3 เฟส และ terminal สำหรับต่อสายนิวทรัล โดยไม่มีตัวควบคุมหลักหรือเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์(Main
Circuit Breaker) การจ่ายกระแสของตู้โหลดเซ็นเตอร์ ชนิดนี้ จะจ่ายผ่าน
บัสบาร์ (busbar) ไปยังเซอร์กิตเบรกเกอร์วงจรย่อย (Branch Circuit
Breaker) ซึ่งมีทั้งแบบ 1 ขั้ว และแบบ 3 ขั้ว ซึ่งจะมีจำนวนวงจรย่อย
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการทนกระแสของบัสบาร์เช่น
100A , 225A เป็นต้น การเลือกใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อย
ที่ต้องการ ได้แก่ 12,18,24,30,36 และ 42 วงจรย่อย (1 วงจรย่อย
สามารถ ใส่เบรกเกอร์ย่อยชนิด 1 ขั้ว ได้ 1 ตัว) โดยกระแสใช้งาน
ทั้งหมดไม่ควรเกิน 80% ของพิกัด ตู้โหลดเซ็นเตอร์
เช่น เลือกพิกัดบัสบาร์ 100 A กระแสใช้งานโดยรวมไม่ควรเกิน
80 A แต่เนื่องจากตู้โหลดเซ็นเตอร์ชนิดนี้ไม่มีตัวควบคุมหลัก
การใช้งานจึงมักใช้ควบคู่กับ safety switch หรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์ควบคุม
หลักอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
คล้าย กับแบบ Main lugs แต่จะมีเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน
(Main Circuit Breaker) แบบ 3 ขั้ว ชนิด MCCB (Molded Case Circuit
Breaker) ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหลักในการจ่ายกระแสผ่านบัสบาร์
ไปยัง MCB (miniature circuit breaker) โดยพิกัดการทนกระแสสูงสุด
ของ เซอร์กิตเบรกเกอร์เมน ต้องไม่เกินพิกัดการทนกระแสของ busbar
เช่น รุ่นที่มีพิกัด busbar 100A สามารถเลือกเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์
(ได้ตั้งแต่ 15, 20, 30,40,50,60,70,80,90 และ 100A เป็นต้น
การเลือกใช้งานนอกจากจะพิจารณาจำนวนวงจรย่อย ซึ่งเหมือนกับ
แบบ Main lugs แล้ว ต้องเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์เมนให้เหมาะสมด้วย
|